game.tv เปิดตัวแอพลิเคชั่นมือถือเมื่อประมาณ 6 เดือนที่แล้ว, และก้าวขึ้นเป็นแพลทฟอร์มจัดการแข่งขันอีสปอร์ตมือถืออันดับ 1 ของโลกอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากกว่า 11 ล้านคน พร้อมมีการแข่งขันใหม่ถูกจัดขึ้นทุกนาที ทำให้ game.tv กลายเป็นศูนย์รวมของเหล่าเกมเมอร์ที่ต้องการฝึกฝนสกิลการเล่นเกมเพื่อก้าวขึ้นไปเป็นโปรเพลเยอร์ รวมทั้งยังมีระบบสนับสนุนเหล่า Influencers, Game Vlogger, คอมมูนิตี้ ด้วยรางวัลมากมาย
game.tv สามารถจัดการแข่งขันผ่านคอมมูนิตี้ของเกมเมอร์นับร้อยทั่วโลก รองรับการแข่งขันมากกว่า 300 เกม ไม่ว่าจะเป็น Garena Free Fire, PUBG Mobile, Call of Duty Mobile และเกมใหม่อย่าง League of Legends: Wild Rift นอกจากนี้ game.tv ยังเป็นแพลทฟอร์มที่ใช้จัดการแข่งขัน ทัวร์นาเมนต์พิเศษ เช่น Free Fire Diva Scrim Wars, ทัวร์นาเมนต์สำหรับเกมเมอร์หญิงโดยเฉพาะตามแนวทางการการสนับสนุนเกมเมอร์หญิงในแวดวงอีสปอร์ตต่างประเทศ
นอกจากการแข่งขันในรูปแบบคอมมูนิตี้ (ในแอพพลิเคชั่นจะเรียกว่ากิลด์) – ทัวร์นาเมนต์ของเกมยอดนิยมต่างๆ ที่ทำให้จำนวนกิลด์นั้นเติบโตมากกว่า 100,000 กิลด์แล้ว เกมเมอร์ยังสามารถปรับใช้แพลทฟอร์ม game.tv ในการเชื่อมต่อกับเพื่อนๆ หรือสร้างฐานผู้ชมของตัวเอง ด้วยระบบที่รองรับทั้งการสื่อสารผ่าน Text และ Voice Chat พร้อมการมีวีดีโอคอนเทนต์จากเหล่า Influencers ชั้นนำ รวมไปถึงโปรเพลเยอร์พร้อมรางวัลมากมายให้ได้ช่วงชิง
Rosen Sharma, CEO ของ game.tv กล่าวว่า “นี่เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของวงการอีสปอร์ต จำนวนเกมเมอร์และเวลาการเล่นเกมของเหล่าเกมเมอร์ทั่วโลกกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเกมเมอร์ระดับอเมเจอร์มากมายที่มีความสามารถแต่ยังขาดโอกาสฝึกฝนในการที่จะยกระดับไปเป็น Pro Player ได้ จากการใช้งานแพลตฟอร์มของเรา เราหวังว่าจะสามารถช่วยให้พวกเขาสามารถแผ้วถางเส้นทางการไป Pro Player ได้ในอนาคตโดยเริ่มจากการแข่งขันเล็กๆ ในคอมมูนิตี้ระดับรากหญ้า
“การร่วมมือกับ game.tv ทำให้เราสามารถสร้างโอกาสให้กับเกมเมอร์รุ่นใหม่มากมาย ให้ได้เริ่มเส้นทางของพวกเขาในการเป็นโปรเพลเยอร์โดยมีการสนับสนุนในทุกขั้นตอน การไลฟ์สตรีมการแข่งขันได้รับความนิยมจากผู้ชมระดับอเมเจอร์เป็นอย่างสูง ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีเกมเมอร์รุ่นใหม่มาเข้าร่วมคอมมูนิตี้ของเราเพิ่มขึ้นในอนาคต” Ritik Jain, YouTuber ผู้ก่อตั้ง Two-Side Gamers กล่าว
game.tv ใช้ระบบ AI-based eSports assistant, ที่เรียกว่า ‘Tourney’, ทำให้สามารถจัดการ การแข่งขันอีสปอร์ตได้แบบออโต้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งระบบ eSports assistant สามารถช่วยให้คอมมูนิตี้ สตรีมเมอร์ หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สามารถจัดการแข่งขันภายในคอมมูนิตี้ของตัวเอง ซึ่งมีบริษัทผู้พัฒนาเกมหลายเจ้าเริ่มใช้งาน Tourney ในเกมของตัวเองเพื่อสนับสนุนให้คอมมูนิตี้แฟนเกมสามารถจัดการแข่งขันกันเองได้ง่ายขึ้น
“Mobile eSports มีพัฒนาการที่รวดเร็วมากและตอนนี้โฟกัสของวงการได้เริ่มเปลี่ยนจากการจัดการแข่งขันขนาดใหญ่แบบทัวร์นาเมนต์ระยะยาวมาเป็นการจัดแข่งหลายๆ ทัวร์นาเมนต์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเกมเอร์ได้มากกว่าเดิม เราใช้งาน Tourney และระบบ AI-powered eSports assistant จัดการแข่งขันได้มากกว่า 1,600 ทัวร์นาเมนต์ต่อวัน” คุณ Rosen Sharma กล่าวเพิ่มเติม